กระบวนการที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการกับความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรซึ่งมีดังนี้
1.
การบ่งชี้ความรู้
เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย
โดยจะคัดเลือกว่าจะใช้เครื่องมืออะไร และขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง
อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร โดยอาจจะพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร
2.
การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง
เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า
กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3.
การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้
เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต
4.
การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น
การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน
และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม
5.
การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก
โดยการใช้พวกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) หรือการประชาสัมพันธ์บน Web
board
6.
การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
ทำได้หลายวิธีการซึ่งจะแบ่งได้สองกรณีได้แก่ Explicit Knowledge อาจจะจัดทำเป็นเอกสาร
ฐานความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ หรือ Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ
ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง
การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว และเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7.
การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน
เช่น การเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้
การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ
และนำความรู้ที่ได้ไปหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น