หน้าเว็บ

บทความ

หนังสือเรื่อง “การจัดการความรู้ในสถานศึกษา” เล่มนี้เป็นหนังสือของสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหนังสือในโครงการการผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการ
               สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำ “การจัดการความรู้” มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาความรู้ในสถาบันฯ จึงจัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้น เพื่อต้องการพัฒนาสถาบันฯ ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้ทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูบนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรมไทย ให้ได้มาตรฐานสากล และเพื่อให้สถาบันฯ เป็นแหล่งข้อมูลของการสร้างและพัฒนาระบบ การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา                               
              หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอแนวทางในการจัดการความรู้ในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งจัดการความรู้ที่ฝังลึกในตัวบุคคล ซึ่งเป็นความรู้ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา (Tacit Knowledge) โดยเฉพาะความรู้ในตัวครูผู้สอน หนังสือเล่มนี้จะไม่เน้นหนักในเรื่องของทฤษฎีหรือหลักการมากนัก แต่จะมุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจแนวทางการปฏิบัติในการจัดการความรู้ให้เกิดผลจริงมากกว่า               
วันทนา เมืองจันทร์ และคณะ. การจัดการความรู้ในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:สถาบันพัฒนา
            ผู้บริหารการศึกษา, 2548.


หนังสือเรื่อง การจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศทางภาษาอังกฤษ เป็นการนำเสนอการจัดการความรู้ในการศึกษาภาษาอังกฤษ เนื่องจากภาษาอังกฤษในปัจจุบันนี้ถือว่ามีส่วนสำคัญโดยเฉพาะในการประกอบอาชีพ หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอว่าการศึกษาภาษาอังกฤษควรเริ่มจากองค์รวมก่อนโดยเน้นภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมด  แล้วจึงเรียนรู้รายละเอียดปลีกย่อยทีหลัง กล่าวคือเป็นการรู้จริง ใช้เป็น และเห็นประโยชน์ได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาษาอังกฤษและสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และยังให้คำแนะนำวิธีการฝึกทักษะที่สำคัญในภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน คือฟัง พูด อ่าน เขียน รวมทั้งได้ให้คำแนะนำว่าทำไม่การเรียนภาษาอังกฤษในสถาบันการศึกษาของไทยจึงไม่เกิดผลสำเร็จอีกด้วย
พีระพงษ์ สุขแก้ว. การจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศทางภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ :
                ปราชญ์สยาม
2548.
 
      หลักการของการจัดการความรู้ในหนังสือเล่มนี้  ไม่ได้เป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากหรือสลับซับซ้อนแต่อย่างใด ผู้เขียนได้นำเสนอเนื้อหาเรื่อง “การจัดการความรู้” ภายใต้เกณฑ์ของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ โดยนำเสนอตั้งแต่ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้กระบวนการขั้นตอนในการพัฒนา  และได้สอดแทรกตัวอย่างซึ่งสามารถนำไปใช้กับหน่วยงานได้ไม่ยาก  และยังได้ขมวดปมมาสรุปให้ท่านได้มองเห็นภาพรวมที่เกี่ยวเนื่องมาตั้งแต่บทที่ 1 จนถึงบทสุดท้ายว่า  การวัด  การวิเคราะห์  และการจัดการความรู้จะนำองค์กรของท่านไปสู่องค์กรที่ภูมิปัญญาได้อย่างไร
ยุธทนา แซ่เตียว. การวัด การวิเคาระห์ และการจัดการความรู้ : สร้างองค์กรอัจฉริยะ
               
กรุงเทพฯ :สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2547. 
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น